บทความเกี่ยวกับสาระความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อรถบรรทุก

เรื่องที่ต้องรู้ก่อนขับรถบรรทุก

ต้องมีใบขับขี่ประเภท 2

โดยปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นการขับชนิดใดก็ตาม จำเป็นที่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมาย รถบรรทุกเองก็เช่นกัน โดยรถบรรทุกนั้นจะแบ่งใบขับขี่เป็น2ประเภท ดังนี้

1.ใบขับขี่ประเภท 2 บ.2 คือ ใบอนุญาตขับประเภทส่วนบุคคล เป็นการอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคลได้

เช่น รถบัส,รถบรรทุก6ล้อ และรถบรรทุก 10ล้อ เป็นต้น  (ป้ายทะเบียนขาว)

2.ใบขับขี่ประเภท 2 ท.2 คือ ใบอนุญาตขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นใช้สำหรับขนส่งเพื่อใช้ในธุรกิจส่วนตัว พานิชย์ ใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง หรือประกอบธุรกิจขนส่ง

เช่น รถบรรทุกสาธารณะ,รสบัส,รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนสีเหลือง)

 

ต้องรู้เรื่องข้อจำกัดทางเวลาและพื้นที่ห้ามวิ่ง

 

วิ่งบนทางราบ

- ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง เดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์

- รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00-09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ

- รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00-10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ

- ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.

วิ่งบนทางด่วน

- รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.

- รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.

- รถบรรทุกสารเคมี ห้ามวิ่งเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.

 

ต้องมีความรู้เรื่องน้ำหนักรถบรรทุก

โดยน้ำหนักรถบรรทุกที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดนั้น แบ่งแยกเป็นประเภทได้ดังนี้

- รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 9.5 ตัน

- รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน

- รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน

- รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 50.5 ตัน

 

รถบรรทุกต้องมีผ้าคลุมแน่นหนาและอุปกรณ์ล็อคเพื่อความปลอดภัย

ต้องใช้ผ้าใบสีทึบในการคลุม และต้องยึดติดกับตัวรถเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งของรั่วไหล ตกหล่น จนก่อให้เกิดอันตรายแก่เพื่อร่วมทางได้ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก

โดยมีโทษปรับสูงสุดอยู่ที่ 50,000 บาท และนายทะเบียนอาจพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนคนขับมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการจะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย

 

ต้องติดตั้งและเปิดGPSตลอดเวลา

จากประกาศกรมการขนส่งทางบก GPS กำหนดให้รถบรรทุกวัตถุอันตราย รถโดยสารสาธารณะ รถโดยสารสองชั้น และ รถบรรทุกขนาดใหญ่ (10ล้อขึ้นไป) ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS Tracker) พร้อมด้วยเครื่องรูดใบขับขี่ (RFID Magnetic Card Reader)  เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก โดยจัดเก็บข้อมูลรถทุก 1 นาที เป็นข้อมูลการใช้ความเร็ว, ชั่วโมงการขับขี่ และตำแหน่งพิกัดของรถ ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งติดตามพฤติกรรมของผู้ขับรถได้แบบเรียลไทม์เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ติดตั้งหรือไม่ดูแลรักษาเครื่องGPS ให้ส่งสัญญาณได้ตามปกติ ถือว่ามีโทษ ปรับตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท และจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถคันดังกล่าวได้

 

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ