บทความเกี่ยวกับสาระความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อรถบรรทุก

ไขข้อสงสัยทำไมรถบรรทุกต้องติด GPS Tracking

จากประกาศกรมการขนส่งทางบก GPS กำหนดให้รถบรรทุกวัตถุอันตราย รถโดยสารสาธารณะ รถโดยสารสองชั้น และ รถบรรทุกขนาดใหญ่ (10ล้อขึ้นไป) ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS Tracker) พร้อมด้วยเครื่องรูดใบขับขี่ (RFID Magnetic Card Reader)  เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก โดยจัดเก็บข้อมูลรถทุก 1 นาที เป็นข้อมูลการใช้ความเร็ว, ชั่วโมงการขับขี่ และตำแหน่งพิกัดของรถ ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งติดตามพฤติกรรมของผู้ขับรถได้แบบเรียลไทม์เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ

 

ติดตามตำแหน่งแบบเรียลไทม์

เมื่อเราติดตั้ง GPS Tracking เราจะสามารถติดตามตำแหน่งของรถบรรทุกได้แบบเรียลไทม์ และสามารถตรวจสอบเส้นทางการเดินทางย้อนหลังได้ เพื่อที่เราจะได้ทราบว่าคนขับไปที่ใดมาบ้างและมีการขับออกนอกเส้นทางหรือไม่ อีกทั้งยังช่วยให้ทางกรมขนส่งสามารถติดตามรถได้โดยตรง และหากมีเหตุโจรกรรมเกิดขึ้นเราสามารถติดตามรถที่โดนโจรกรรมได้แบบเรียลไทม์

ควบคุมความเร็วในการขับขี่

เพื่อกำหนดไม่ให้ผู้ขับรถบรรทุกขับด้วยเร็วที่เกินกำหนด สำหรับความเร็วรถบรรทุกที่กฎหมายกำหนด คือ รถบรรทุก 10 ล้อ กำหนดด้วยความเร็วที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถหัวลาก

กำหนดความเร็วอยู่ที่ 60 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง

ลดการเกิดอุบัติบัติเหตุ

เนื่องจากรถบรรทุกเป็นรถคันใหญ่กว่ารถประเภทอื่นๆทำให้ทัศนวิสัยของผู้ขับรถอาจไม่กว้างพอด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้น การติดตั้ง GPS และ เครื่องรูดใบขับขี่ จะทำให้สามารถควบคุมความเร็วรถบรรทุกได้ เพราะถ้าหากขับด้วยเร็วที่เกินกำหนด

เครื่องรูดใบขับขี่จะส่งเสียงเตือน จนกว่าความเร็วของรถจะลดลง

สรุป

การติดตั้ง GPS Tracking ติดไว้เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถติดตามพฤติกรรมของผู้ขับรถได้แบบเรียลไทม์เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ติดตั้งหรือไม่ดูแลรักษาเครื่องGPS ให้ส่งสัญญาณได้ตามปกติ ถือว่ามีโทษ ปรับตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท และจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถคันดังกล่าวได้

บทความที่คุณอาจสนใจ