รวมรายการลดหย่อนภาษี 2567
การเสียภาษีเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้ประจำทุกคนต้องจ่ายในทุกๆปีตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อไม่ให้ตัวเราต้องจ่ายภาษีก้อนใหญ่เราจึงควรศึกษาและวางแผนเรื่องภาษีให้ดี มาดูกันกันว่ามีวิธีไหนบ้างที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้
1.ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียภาษีสามารถใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวได้ปีละ 60,000 บาท โดยสามารถใช้สิทธิได้ทันทีทั้งการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้วยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ซึ่งหากยื่นภาษีออนไลน์จะมีรายการลดหย่อนส่วนตัวให้อัติโนมัติ
2.ค่าลดหย่อนคู่สมรสใช้สิทธิลดหย่อนได้ 60,000 บาท
ในกรณีที่ใช้สิทธิลดหย่อนคู่สมรสต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น (หากสมรสไม่ครบปีหรือคู่สมรสเสียชีวิตก็มีสิทธิหักลดหย่อนภาษีได้) โดยคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ไม่มีเงินได้หรือรายได้ในปีนั้นๆ ในกรณีที่สามีและภรรยามีเงินได้ทั้งคู่ กฎหมายอนุญาตให้ ยื่นภาษีรวมกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีคู่สมรสได้
3.ค่าลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย คนละ 30,000 บาท
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายคนละ 30,000 บาท และหากมีบุตรคนที่2 ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรได้คนละ 60,000 บาท สำหรับผู้ที่มีบุตรคุณธรรมหรือมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรได้สูงสุด 3 คน และจะต้องเป็นบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ซึ่งกรณีนี้บุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี ส่วนบุตรที่มีอายุตั้งแต่ 21-25 ปี จะต้องอยู่ในระดับปวส. ขึ้นไป และบุตรจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ยกเว้นกรณีที่ได้รับเงินปันผล
4.ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท
โดยบุตรที่เลี้ยงดูพ่อแม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยต้องเป็นพ่อแม่ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือก็คือพ่อแม่ที่แท้จริง และพ่อแม่ต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ส่วนกรณีที่มีพี่น้องที่มีเงินได้แล้วต้องการใช้สิทธิลดหย่อน ต้องมีการตกลงกันอย่างชัดเจนก่อนว่าใครจะใช้สิทธิตรงนี้ เพราะว่าตามกฎหมายให้ใช้สิทธิได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถใช้สิทธิซ้ำกันได้ ส่วนใครที่ใช้สิทธิลดหย่อนบิดามารดา จะต้องทำหนังสือรับรองการหักค่าลดหย่อน หรือ ลย.03 ประกอบกัน
5.ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ ใช้สิทธิได้คนละ 60,000 บาท
หากเป็นผู้อุปการะหรือว่าดูแลผู้พิการหรือทุพพลภาพ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท แต่เงื่อนไขคือจะต้องมีหลักฐานในการยื่นประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็น บัตรประจำตัวผู้พิการ หรือใบรับรองแพทย์และใบ ลย.04
6.ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
ในกรณีที่มีการฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 60,000 บาท ซึ่งกรณีที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายแล้วให้เป็นของภรรยา แต่ถ้ากรณีที่ภรรยาไม่มีรายได้ สามีจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตรงนี้แทนได้ ซึ่งจะต้องยื่นควบคู่กับใบเสร็จและใบรับรองแพทย์
7.ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน
- ประกันสุขภาพ ไม่เกิน 25,000 บาท
- ประกันชีวิตทั่วไป + สะสมทรัพย์ รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสังคม 9,000 บาท
- ประกันสุขภาพพ่อแม่ ไม่เกิน 15,000 บาท
- กองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้ 30% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้ 30% ไม่เกิน 200,000 บาท และหากรวมกับกองทุนอื่นๆต้องไม่เกิน 500,000 บาท
8.ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
8.1 โครงการช้อปดีมีคืน
สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการ มาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่เงื่อนไขคือต้องไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งสิทธิลดหย่อนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มสินค้าหรือบริการ 30,000 บาทแรก สามารถใช้ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเป็นหลักฐานและค่าสินค้าหรือบริการ 10,000 บาทที่เหลือ ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการยื่นลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น
หมายเหตุ : ผู้ที่ถือสวัสดิการแห่งรัฐจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากโครงการช้อปดีมีคืนได้
8.2ลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยบ้าน
หากใครที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่ได้จากการซื้อที่อยู่อาศัย มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะต้องยื่นร่วมกับเอกสารรับรองการจ่ายดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้ออกให้ส่วนกรณีที่ซื้อแบบกู้ร่วมสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเฉลี่ยตามจำนวนผู้ร่วมกู้
9.การบริจาคเพื่อลดหย่อยภาษี
เงินบริจาคลดหย่อนภาษี ประกอบไปด้วย
- บริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สนับสนุนกีฬา พัฒนาสังคมต่างๆ มูลนิธิด้านสาธารณะสุข และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่า ของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคอื่นๆ มูลนิธิและองค์กรณ์สาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน