เติมน้ำมันผิด แก้ไขอย่างไร?
ปัญหาการเติมน้ำมันผิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับหลายคน อาจด้วยความเคยชินจากรถคันเดิมหรือมีรถยนต์หลายคัน ทำให้เกิดความสับสนจนบอกชื่อน้ำมันที่จะเติมผิด วันนี้ทางไพศาลแคปปิตอลจะมาบอกวิธีป้องกันและแนวทางการแก้ไขให้ทุกท่านได้อ่านไว้ เผื่อในกรณีที่เกิดปัญหานี้ขึ้นมาจริงๆจะได้แก้ไขอย่างถูกต้อง
เติมน้ำมันผิดจะเกิดอะไรขึ้น?
ผลที่ตามมาคือหัวเทียน ไส้กรอง และระบบเครื่องยนต์เสียหาย หากสตาร์ทรถเครื่องยนต์อาจสะดุดและเครื่องดับไปในที่สุดหรืออาจสตาร์ทไม่ติดเลยเนื่องจากการเผาไหม้ของน้ำมันเบนซินและดีเซลนั้นไม่เท่ากัน เมื่อเติมน้ำมันผิดประเภทจึงทำให้การเผาไหม้เครื่องยนต์สะดุดและไม่สามารถทำงานต่อได้
วิธีแก้ไขเมื่อรู้ตัวว่าเติมน้ำมันผิดแต่ยังไม่ได้สตาร์ทเครื่องและยังอยู่ที่ปั้ม
ถ้ายังไม่ได้สตาร์ทเครื่องยนต์ ให้ถ่ายน้ำมันที่อยู่ในถังออกให้หมดและไล่ระบบใหม่ เมื่อถ่ายน้ำมันออกหมดแล้วให้เติมน้ำมันที่ถูกต้องเข้าไปใหม่ สตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ซักพักและสังเกตดูว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ ทดสอบอีกครั้งด้วยการเร่งเครื่องพร้อมกับเปิดฟังก์ชั่นต่างๆที่ต้องใช้ขณะขับใช้งาน หากไม่มีสิ่งผิดปกติใดเกิดขึ้นแปลว่าการถ่ายน้ำมันเสร็จสิ้นไม่มีปัญหา
วิธีแก้ไขเมื่อไม่รู้ตัวว่าเติมน้ำมันผิดแล้วรถดับกลางทางขณะวิ่งอยู่บนถนน
ก่อนอื่นเลยถ่ายน้ำมันในถังออกให้หมด ไล่ระบบน้ำมันใหม่ เติมน้ำมันที่ถูกต้องเข้าไปใหม่และไล่ระบบน้ำมันอีกครั้ง สำหรับรถที่ใช้เบนซินให้ถอดหัวเทียนออกมาทำความสะอาดใหม่ ส่วนรถที่ใช้ดีเซลให้ถอดเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่ หลังจากนั้นพยายามสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติด ขณะสตาร์ทจะมีอาการติดยากหรืออาจติดแล้วดับ ให้สตาร์ทต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะติด จากนั้นปล่อยให้รถเดินเครื่องเองซักพัก เมื่อเครื่องยนต์เดินเรียบร้อยให้ลองเร่งเครื่อง พร้อมกับเปิดฟังก์ชั่นต่างๆที่ต้องใช้ขณะชับใช้งาน หากไม่มีสิ่งผิดปกติใดเกิดขึ้นแปลว่าการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเสร็จสิ้นไม่มีปัญหา
ปัญหาเรื่องการเติมน้ำมันผิดประเภทสามารถเกิดขึ้นได้จากตัวเราและพนักงานปั้ม ดังนั้นก่อนเติมน้ำมันทุกครั้งต้องแจ้งให้ชัดเจนว่าจะเติมน้ำมันประเภทไหน เพื่อป้องการเติมน้ำมันผิดประเภท
เช็คระยะรถตามกำหนดดีอย่างไร?
ก่อนอื่นเลยเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าการเช็คระยะมีความจำเป็นอย่างไร แล้วทำไมต้องเช็ค?
เช็คระยะรถยนต์คืออะไร
การเช็คระยะรถยนต์คือการตรวจสอบสภาพรถยนต์ เพื่อช่วยบำรุงรักษา ชะลอความเสื่อมเครื่องยนต์หรือองค์ประกอบภายในเครื่องยนต์ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากถามว่าการเช็คระยะรถจำเป็นไหม ก็ต้องบอกเลยว่าจำเป็นเพราะการไม่ตรวจเช็คระยะรถอาจส่งผลเสียต่อรถยนต์ เนื่องจากเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า รถยนต์ผิดปกติตรงไหนบ้าง ดังนั้นควรส่งรถเข้าศูนย์เพื่อเช็คระยะรถยนต์ทุกครั้งเมื่อครบกำหนด
สำหรับช่วงเวลาที่ต้องนำรถเข้าไปเช็คระยะจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1.นับจากระยะเวลา (เริ่มตั้งแต่วันออกรถ)
2.ดูจากระยะทาง (เลขไมล์ที่ใช้งานไป)
ตรวจเช็คในระยะ 1-6 เดือน หรือทุกๆ 5,000 กิโลเมตร
- ยางรถยนต์และการตั้งศูนย์ล้อ ต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 6 เดือน หรือทุกๆ 5,000 กิโลเมตร
- จานเบรกและผ้าเบรกหน้า ต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 6 เดือน หรือทุกๆ 5,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์และไส้กรอง จะต้องเปลี่ยนในระยะเวลา 6 เดือน หรือทุกๆ 5,000 กิโลเมตร
ตรวจเช็คในระยะ 6-12 เดือน หรือทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
- ระบบคลัช พร้อมตรวจดการรั่วซึมของท่อและสายน้ำมันคลัช ต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 6 เดือน หรือทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
- การสลับยาง การถ่วงล้อ ต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 6 เดือน หรือทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
- ที่ปัดน้ำฝนและที่ฉีดน้ำยาล้างกระจก ต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 6 เดือน หรือทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
- ระบบจานเบรคและผ้าเบรคหลัง พร้อมตรวจดูการรั่วซึมของท่อและสายน้ำมันเบรก จะต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 6 เดือน หรือทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
- ระบบช่วงล่าง ควรอุดจาระบี ในระยะเวลา 6 เดือน หรือทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
- โช๊คอัพ หน้า-หลัง จะต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 12 เดือน หรือทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์และไส้กรอง จะต้องเปลี่ยนในระยะเวลา 12 เดือน หรือทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
ตรวจเช็คในระยะเวลา 12-24 เดือน หรือทุกๆ 20,000 กิโลเมตร
- ล้างเครื่อง จะต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 12-24 เดือน หรือทุกๆ 20,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเกียร์ ระบบธรรมดา จะต้องเปลี่ยนในระยะเวลา 12-24 เดือน หรือทุกๆ 20,000 กิโลเมตร
- สายพานขับและสายพานเครื่องยนต์ จะต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 12-24 เดือน หรือทุกๆ 20,000 กิโลเมตร
- ระบบบังคับเลี้ยว สายพานพวงมาลัยพาวเวอร์ จะต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 12-24 เดือน หรือทุกๆ 20,000 กิโลเมตร
- ระบบคันชักคันส่ง ลูกหมาก ยางกันฝุ่น จะต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 12-24 เดือน หรือทุกๆ 20,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเบรก น้ำมันคลัช น้ำมันพวงมาลัย น้ำมันเกียร์ออโต้ น้ำมันหล่อเย็นเครื่องยนต์ จะต้องตรวจเช็คในระยะเวลา 12-24 เดือน หรือทุกๆ 20,000 กิโลเมตร
ข้อดีของการเช็คระยะรถยนต์
การนำรถเข้าเช็คระยะตามกำหนดที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยยืดอายุการทำงานของรถยนต์ เนื่องจากการใช้งานรถทุกวันทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ ดังนั้นการตรวจเช็คจะทำให้เรารู้ว่าช่วงไหนของรถที่เริ่มเสื่อมและทำการเปลี่ยนอะไหล่หรือการซ่อมบำรุง
สิ่งที่ไม่ควรทำขณะเติมน้ำมันที่หลายคนมองข้าม
วันนี้ทางไพศาลแคปปิตอลจะมาย้ำเตือนว่ามีอะไรบ้างที่ไม่ควรทำขณะเติมน้ำมันรถพร้อมสาเหตุที่ไม่ควรทำ
1.สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ใกล้กับบริเวณพื้นที่จ่ายน้ำมัน ไฟจากบุหรี่อาจทำปฏิกิริยากับไอน้ำมันที่มองไม่เห็นอาจทำให้เกิดประกายไฟได้
2.ไม่ดับเครื่องยนต์
ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนในประเทศไทยทำให้แรงดันในถังที่พ่นไอระเหยจากน้ำมันอาจก่อให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
3.ใช้โทรศัพท์มือถือ
โทรศัพท์และสัญญาณโทรศัพท์ไม่ได้ทำให้เกิดไฟไหม้แต่สัญญาณของมันเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสถิตมากขึ้นจนกลายเป็นเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอันตราย ซึ่งไฟฟ้าสถิตนั้นจริงๆแล้วมีอยู่รอบตัวเราและถูกเหนี่ยวนำผ่านอากาศ ส่วนสัญญาณโทรศัพท์มือถือเป็นตัวเพิ่มโอกาสเหนี่ยวนำที่จะทำให้ตัวคุณมีไฟฟ้าสถิตเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง หากอยู่ในช่วงที่อากาศแห้งก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดไฟฟ้าสถิตมากขึ้นด้วยเช่นกัน
4.เติมน้ำมันในถังพลาสติก
ถังพลาสติกอาจเต็มไปด้วยไฟฟ้าสถิตย์ที่มองไม่เห็น ซึ่งจะก่อให้เกิดเพลิงลุกไหม้ได้
หากเจ้าของรถรวมถึงผู้ที่เข้ามาใช้บริการในปั้มน้ำมันทุกคนไม่ประมาทและช่วยกันปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้ได้ก็จะไม่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นอย่างแน่นอน
ซื้อประกันแบบไหนได้ลดหย่อนภาษีเท่าไหร่?
ประกันชีวิตแบบทั่วไป
ประกันชีวิตต้องมีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และถ้ามีเงินคืนระหว่างสัญญาเงินคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสม สามารถนำเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งประกันชีวิตทั่วไป มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ แบบตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา แบบสะสมทรัพย์ และแบบควบการลงทุน
ประกันสุขภาพ
เราสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 25,000 บาท และรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้วไม่เกิน 100,000 บาท ประกันสุขภาพคือประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง หรือ ประกันภัยการดูแลระยะยาว
ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ใช้ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงต้องไม่เกิน 15% ของรายได้ไม่เกิน 200,000 บาท และอาจลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป เช่น ถ้าเรามีรายได้ 1,000,000 บาท ซื้อประกันบำนาญไป 200,000 บาท และประกันชีวิตทั่วไป 100,000 บาท เราจะสามารถนำมาลดหย่อนในส่วนประกันบำนาญได้แค่ 150,000 บาท เท่านั้น เพราะคิดเป็น 15% ของรายได้
การกรอกเวลายื่นภาษี
1.กรอกเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
2.กรอกเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ตามที่จ่ายจริงและเมื่อรวมกับประกันสุขภาพแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
3.กรอกเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หากเราใช้สิทธิประกันชีวิตแบบทั่วไปไม่เต็มสิทธิให้กรอกประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 บาท ก่อนแล้วค่อยกรอกประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 บาท ก่อนค่อยมากรอกประกันชีวิตแบบบำนาญ
เช่น ถ้าเรามีประกันสุขภาพ 10,000 บาท ประกันชีวิตทั่วไป 50,000 บาท ประกันบำนาญ 100,000 บาท
เวลากรอกยื่นภาษี คือ
- กรอกประกันสุขภาพ 10,000 บาท
- กรอกช่องประกันชีวิตทั่วไป 90,000 บาท (รวมกับประกันสุขภาพจะเป็น 100,000 บาท )
- .ใส่ช่องประกันบำนาญ 60,000 บาท (เพราะใส่ช่องประกันทั่วไปแล้ว 40,000 บาท )
**ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
ผู้กู้ร่วมกับคนค้ำประกันต่างกันอย่างไร?
ผู้กู้ร่วม
คือการทำสัญญายื่นกู้สินเชื่อก้อนเดียวกัน ภายใต้สัญญากู้เดียวกันและมีหน้าที่รับผิดชอบหรือรับภาระหนี้ร่วมกัน โดยผู้กู้ร่วมจะมีหนี้สินคนละครึ่ง หากผู้กู้คนใดคนหนึ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ผู้กู้ร่วมคนอื่นๆต้องรับผิดชอบหนี้ที่ค้างอยู่แทน ซึ่งบุคคลที่จะเป็นผู้กู้ร่วมต้องมีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวหรือพี่น้องทางสายเลือดเท่านั้น โดยธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจะนำข้อมูลของผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมมาพิจารณาในการขออนุมัติสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ต่อเดือน ภาระหนี้สิน ความสามารถในการชำระหนี้ ประวัติทางการเงิน เป็นต้น
ผู้ค้ำประกัน
คือการหาบุคคลมาค้ำประกันเพื่อเข้ามามีสัญญาทางกฎหมายกับเจ้าหนี้ โดยในการทำสัญญาค้ำประกันจะมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ ในกรณที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินสามารถไล่เบี้ยกับผู้ค้ำประกันเพื่อให้ชำระหนี้แทนได้ ตามกฏหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกผิดนัด
ข้อแตกต่างระหว่างผู้กู้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
ผู้กู้ร่วม
- การทำสัญญายื่นกู้ก้อนเดียวกันภายใต้สัญญาเดียวกัน
- มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวหรือเครือญาติ
- ธนาคารดูรายได้ทั้งผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมในการอนุมัติสินเชื่อ
- มีหน้าในการผ่อนเช่นเดียวกับผู้กู้หลัก
- สามารถนำดอกเบี้ยไปลดหย่อยภาษีได้
ผู้ค้ำประกัน
- การหาบุคคลมาค้ำประกันเพื่อเข้ามามีสัญญาทางกฎหมายกับเจ้าหนี้
- ผู้ค้ำประกันเป็นใครก็ได้
- ธนาคารจะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันในการอนุมัติ
- ไม่มีหน้าที่ในการผ่อนแต่ต้องรับผิดชอบหากผู้กู้หลักผิดสัญญากับธนาคาร
- นำดอกเบี้ยไปลดหย่อนภาษีไม่ได้
แอร์รถเหม็นอับ เกิดจากอะไรและแก้ไขอย่างไร?
สาเหตุที่ทำให้แอร์รถยนต์มีกลิ่นอับ
- มีน้ำหรือความชื้นสะสมอยู่ในคอยล์เย็น จนเกิดเชื้อรา
- ช่องแอร์เกิดการหมักหมมCA
- ที่กรองแอร์มีสิ่งสกปรกเข้ามาอุดตัน
วิธีแก้ไขอาการแอร์รถยนต์มีกลิ่น
1.เปิดพัดลมไล่ความชื้น
ให้เราปิดปุ่มแอร์ (A/C) จากนั้นเปิดพัดลมให้แรงที่สุด เพื่อไล่ความชื้นออกจากออกจากคอยล์เย็นและลดกลิ่นอับ ใช้เวลาเป่าลมประมาณ 5 นาที จะช่วยลดกลิ่นอับได้ดีขึ้น
2.เปิดแอร์ในระดับที่พอดี
ควรเปิดแอร์ในระดับที่เย็นพอดี ถ้าเปิดแอร์เย็นจนเกินไปอาจทำให้เกิดความชื้นสะสมภายในวงจรปรับอากาศได้และไม่ควรปิดหน้ากากแอร์เพราะจะทำให้ภายในวงจรปรับอากาศมีอุณภูมิต่ำและทำให้เกิดความชื้นได้
3.ใช้แสงแดดไล่ความชื้น
เป็นวิธีที่หลายๆคนเลือกใช้กัน โดยเปิดประตูรถยนต์ทุกบาน เพื่อให้แสงแดดไล่ความชื้นรวมถึงกลิ่นอับออก
4.ถอดกรองแอร์มาล้าง
หากไม่ได้ถอดกรองแอร์มาล้างนานๆ พวกเศษสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่มากอาจเป็นผลทำให้ส่งกลิ่นอับทำให้ภายในรถมีกลิ่นเหม็น ดังนั้นควรถอดกรองแอร์ออกมาล้างแล้วใส่กลับเข้าที่เดิม ถือว่าเป็นการทำความสะอาดแอร์ไปในตัว
5.น้ำส้มสายชูช่วยลดกลิ่นอับได้
ถ้าหากภายในรถยังมีกลิ่นอับอยู่ ให้นำน้ำส้มสายชูเทใส่แก้วแล้วนำไปวางไว้ในรถประมาณ 1-2 ชั่วโมง กลิ่นของน้ำส้สายชูจะช่วยดับกลิ่นภายในรถได้
6.ใช้สเปรย์ดับกลิ่นอับภายในรถยนต์
ปัจจุบันจะมีสเปรย์ปรับอากาศและดับกลิ่นแบบ 2 in 1 ให้ฉีดสเปรย์ไปในจุดที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์เพื่อขจัดกลิ่นอับ
7.ล้างแอร์
หากทำทุกวิธีแล้วแต่กลิ่นอับในแอร์รถยนต์ไม่หายไป เป็นสัญญาณให้เราต้องล้างแอร์รถยนต์โดยนำรถเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างล้างแอร์ให้สะอาดเพื่อขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์
วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2567
สำหรับการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบ ภ.ง.ด.90/91
1.เข้าไปที่เว็บไซต์ของ กรมสรรพากร : https://efiling.rd.go.th/rd-cms/
จากนั้นกดไปที่ “ยื่นแบบออนไลน์”
2.ระบบจะนำท่านไปหน้าเข้าสู่ระบบ หลังจากนั้นให้กรอก เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือชื่อผู้ใช้งาน แต่ถ้าหากยื่นครั้งแรกให้กด “สมัครสมาชิก” แล้วทำตามขั้นตอน และยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้
3.กดยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 โดย ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ทื่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ขายของออนไลน์ ส่วน ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้เสริมจากช่องทางอื่น
4.ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว
ระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่ติดต่อ ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) ให้ทำการตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นระบุ สถานะของตนเอง โสด สมรส หม้าย หย่าร้าง
ระบุแหล่งที่มาของรายได้
- ระบบจะแสดงหน้ารายได้ต่างๆ โดยแยกตามแหล่งที่มาของรายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือน , รายได้จากฟรีแลนซ์ , รายได้จากทรัพสินย์ , รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหรือที่ได้รับมา
ในส่วนขั้นตอนนี้ หากเป็นพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน ให้เลือกรายได้จากเงินเดือน คลิกที่ “ระบุข้อมูลช่อง40(1)” จากนั้นระบบจะให้กรอกข้อมูลดังนี้
- รายได้ทั้งหมด ให้รวมรายได้จากทุกนายจ้าง จากทุกบริษัทที่เข้าทำงานตลอดปี 2566 แล้วกรอกเลขเดียว
- หักภาษี ณ ที่จ่าย ให้รวมภาษีที่นายจ้างแต่ละที่หัก แล้วกรอกเลขเดียว
- เลขผู้จ่ายเงินได้ คือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนายจ้าง หากรับเงินจากหลายนายจ้าง ให้กรอกเลขของนายจ้างที่จ่ายให้เรามากที่สุด
- เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว คลิกไปที่ “บันทึก”
หากมีรายได้อื่นๆให้กรอกไล่ไปทีละข้อ โดยเราควรคำนวณตัวเลขให้พร้อม ก่อนเริ่มยื่นภาษีออนไลน์ เมื่อบันทึกรายได้แต่ละข้อเสร็จ ระบบของสรรพากรจะพากลับไปที่หน้ารายได้เหมือนเดิม ขั้นตอนนี้แนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
5.การกรอกข้อมูลค่าลดหย่อยภาษี ซึ่งค่าลดหย่อนภาษีของปี 2566 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร 30,000 บาท ( เพิ่มอีก 30,000บาท สำหรับบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป )
ประเภทที่ 2 ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน และการลงทุน
- ลดหย่อนเงินประกันสังคมไม่เกิน 9,000 บาท
- ลดหย่อนประกันสุขภาพบิดามารดา ไม่เกิน 15,000 บาท
- ลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพ รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
- ลดหย่อนกองทุน RMF ไม่เกิน 500,000 บาท
- ลดหย่อนกองทุน SSF ไม่เกิน 200,000 บาท
**ค่าลดหย่อนกองทุน RMF และ SSF รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
ประเภทที่ 3 ค่าลดหย่อนภาษีเงินบริจาค
- ลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป ไม่เกิน 10% ของเงินได้
- ลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา และการบริจาคสาธารณะ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้
- ลดหย่อนเงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000บาท
ประเภทที่ 4 ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
- ลดหย่อนโครงการช้อปดีมีคืน ไม่เกิน 40,000 บาท
- ลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
ระบบจะดำเนินการคำนวณค่าใช้จ่ายและลดหย่อนภาษี ออกมาเป็น ”เงินได้สุทธิ” ซึ่งจะถูกนำไปคำนวณภาษี
ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดและกดยืนยันการยื่นแบบ แต่ต้องอัพโหลดเอกสารค่าลดหย่อนอื่นๆเพิ่มเติมด้วย เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษี
รวมศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์
กรมธรรม์ (Policy)
หมายถึง หนังสือสัญญาข้อตกลงของผู้เอาประกันภัย ที่ออกโดยบริษัทประกัน เพื่อใช้ในการแสดงข้อตกลง เงื่อนไขและความคุ้มครองตามสัญญา โดยภายในเอกสารกรมธรรม์จะประกอบไปด้วยรายละเอียดมากมายระหว่างผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย
ทุนประกัน (Sum Insured)
คือวงเงินสูงสุดที่บริษัทประกันภัยที่ต้องชดใช้ให้กับผู้ทำประกันภัยรถยนต์ ในกรณีที่มีการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
เบี้ยประกัน (Premium)
คือจำนวนเงินที่ผู้ทำประกันรถต้องจ่ายให้แก่บริษัทประกันเพื่อรับความคุ้มครองต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ หากมีการค้างชำระเบี้ยประกันหรือไม่ได้จ่ายเบี้ยประกัน อาจมีผลทำให้กรมธรรม์ถูกยกเลิกและไม่คุ้มครองอีกต่อไป
ค่าสินไหมทดแทน (Claim Amount)
คือค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ทำประกันรถที่เรียกร้องจากบริษัทประกันให้รับผิดชอบ โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์และเป็นค่าเสียหายตามจริงเท่านั้น
ผู้เอาประกัน (The Insured)
หมายถึง ผู้ที่ทำประกันรถ ซึ่งมีหน้าที่จ่ายค่าเบี้ยประกันให้กับบริษัทประกัน เพื่อรับความคุ้มครองจากบริษัทประกัน ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นทางผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องสิทธิ์และค่าสินไหมทดแทนในส่วนอื่นๆจากบริษัทประกันได้ แต่ต้องไม่เกินจากที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ที่ทำ รวมถึงต้องเป็นไปตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
ผู้รับประกัน (The Insurer)
คือ บริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย โดยผู้รับประกันจะมีสิทธิ์รับค่าเบี้ยประกันและพิจารณารับประกันภัย รวมถึงชดใช้ค่าเสียหายเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งในส่วนของการชดใช้จากบริษัทประกันนั้น จะชดใช้เป็นเงินสดหรือการซ่อมรวมไปถึงการหาของชิ้นใหม่มาแทนที่ของเดิม
ผู้รับประโยชน์ (The Beneficiary)
คือ บุคคลภายนอกกรมธรรม์ที่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดใช้จากบริษัทประกันในกรณีที่รถยนต์ได้รับความเสียหาย ซึ่งปกติแล้วผู้รับประโยชน์จะเป็นชื่อเดียวกับผู้ที่เอาประกันรถ แต่ก็สามารถให้ผู้อื่นที่ถูกระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์เป็นผู้รับได้เช่นกัน
วินาศภัย
หมายถึง ความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นและสามารถประเมินเป็นจำนวนเงินได้ รวมไปถึงความสูญเสียในสิทธิหรือผลประโยชน์อีกด้วย
ประกันรถยนต์ภาคบังคับ / ภาคสมัครใจ
ประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือที่ทุกคนรู้จักในชื่อของพ.ร.บ.จะดูแลเฉพาะตัวผู้ขับขี่และคู่กรณีเท่านั้น และหากต้องการดูแลประกันรถยนต์เพิ่มเติม ยังสามารถเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจได้อีกด้วย หรือที่เราเรียกกันว่าประกันชั้น 1,2,3 ความคุ้มครองต่างๆจะขึ้นอยู่กับแผนประกันที่ท่านเลือก